Empathy That Feels Real

Empathy that feel real

Empathy ที่ไม่ปลอม: ทักษะที่ผู้นำยุคนี้ต้องใช้ ไม่ใช่แค่แสดง
ในยุคที่ผู้นำต้องบริหารทั้งเป้าหมาย คน และความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุด — คำว่า “Empathy” กลายเป็น buzzword ที่ดูดี แต่ยังมีคนจำนวนมากที่มองว่าเป็น “ของแถม” ที่มีหรือไม่มีก็ได้

ในความเป็นจริง Empathy ไม่ใช่ความใจดี หรือการทำตัวอ่อนโยนในที่ประชุม — แต่คือทักษะที่ทำให้คุณเข้าใจว่าคนในทีมรู้สึกอย่างไร เห็นอะไร และต้องการอะไร เพื่อจะ “นำ” ได้จริงในแบบที่คนอยากเดินตาม

Empathy คืออะไร — และไม่ใช่อะไร
Empathy ไม่ใช่แค่การฟังเงียบๆ หรือพูดว่า “เข้าใจ” แต่เป็นการพยายาม มองโลกจากมุมของอีกฝ่าย โดยไม่ตัดสิน
และที่สำคัญ คือ การแสดงออกให้เขารับรู้ว่าคุณเข้าใจจริง ไม่ใช่แค่คิดในใจ

ตัวอย่าง:
ถ้าลูกทีมมารายงานว่า “งานนี้กดดันมากค่ะ พวกเราต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน”
การตอบว่า “ก็ต้องจัดลำดับให้ได้สิ” อาจฟังดูมีเหตุผล
แต่การตอบว่า 
“ฟังดูคุณต้องรับมือหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน — ตอนนี้ อะไรที่คุณรู้สึกว่าหนักที่สุด?”
ช่วยให้เขารู้ว่าคุณ ฟังอยู่ และ แคร์ในมุมของเขา มากกว่าแค่ประเมินงาน

ตัวอย่าง:
ในที่ประชุม เมื่อคนในทีมพูดว่า “ผมคิดว่าไอเดียนี้อาจจะยังไม่ค่อยใช่สำหรับงานนี้”
หัวหน้าที่ยุ่งๆอาจจะรีบตอบว่า “พวกเราคุยไปแล้วนะว่าแนวนี้ดีที่สุด”
แต่ถ้าใช้ Empathy คุณอาจถามกลับว่า 
“ขอบคุณที่กล้าพูดนะ — คุณเห็นอะไรที่เรามองข้ามไป หรือ มีอะไรที่คุณคิดว่าเราต้องระวังให้มากขึ้น?”
นั่นคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนรู้สึกว่า “เสียงของเขามีค่า” แม้จะขัดกับเสียงส่วนใหญ่

ทำไมผู้นำยุคใหม่ต้องมี Empathy
เพราะคนในทีมไม่ต้องการหัวหน้าที่แค่เก่ง แต่ต้องการผู้นำที่ เข้าใจ
Empathy คือจุดเริ่มต้นของความไว้ใจ ความปลอดภัยทางใจ และการเปิดใจร่วมมือกันในระยะยาว
โดยเฉพาะในโลกที่การลาออกแบบเงียบ (quiet quitting) และ burnout กลายเป็นเรื่องปกติ
Empathy คือจุดต่างที่ทำให้คนเลือกอยู่ หรือเลือกไป


ตัวอย่าง:
ในทีมที่มี Empathy เมื่อมีคนทำพลาดในงานสำคัญ หัวหน้าจะไม่รีบถามว่า “ทำไมถึงพลาด”
แต่จะเริ่มที่ “คุณเจออะไรในโปรเจกต์นี้บ้าง?”
เพื่อให้ทีมรู้ว่าความผิดพลาดคือพื้นที่เรียนรู้ ไม่ใช่พื้นที่ประหาร

จะมี Empathy แบบไม่ปลอมได้อย่างไร
ตั้งใจฟังแบบไม่ตัดสินไปก่อน ถามเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อตอบ
ยอมรับความรู้สึก โดยไม่รีบทำให้ทุกอย่างเป็นบวก ใช้ภาษาที่ “คนตรงหน้า” เข้าใจ ไม่ใช่ศัพท์เทคนิคของผู้นำ


ตัวอย่าง:
ใน 1-on-1 อย่าถามแค่ “งานเป็นไงบ้าง”
ลองถามว่า
“อะไรในสัปดาห์นี้ทำให้คุณรู้สึกมีพลัง / หมดแรง?”
จะได้ข้อมูลที่ลึกกว่าเดิม และบอกคนฟังได้ว่าคุณใส่ใจในตัวเขามากกว่าแค่ผลลัพธ์ในงาน

ตัวอย่าง:
ในวันที่ลูกทีมมาทำงานสายและดูหมดพลัง 
คุณอาจรู้สึกอยากเตือนเรื่องวินัยและความรับผิดชอบในหน้าที่
แต่หัวหน้าที่มี Empathy จะถามก่อนว่า
“วันนี้ดูเหนื่อยเป็นพิเศษนะ — มีอะไรเกิดขึ้นรึเปล่า?”

การถามแบบนี้เปิดโอกาสให้คุณเข้าใจบริบทชีวิตของคน มากกว่าด่วนตัดสินจากพฤติกรรมภายนอก

ในวันที่ทุกอย่างรอบตัวเปลี่ยนไปเร็วมาก คนเก่งหาง่าย — แต่ คนที่อยู่กับทีมและเข้าใจคน หายาก
ถ้าคุณอยากเป็นผู้นำแบบที่คนอยากเดินตาม มากกว่าผู้นำที่ลูกน้องทำตามหน้าที่ไปวันๆ ทักษะด้าน Empathy ไม่ใช่แค่สิ่งที่ควรมี แต่เป็นทักษะที่คุณ “ต้องมี”


ดร.หนิง ดไนยา
โค้ชผู้บริหารที่ได้รับการรับรองระดับสูงสุด (MCC - ICF) 

ติดตามหนังสือ "โค้ชเป็น ทีมเปลี่ยน องค์กรโต" เร็วๆนี้ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้