พ่อแม่ใช้ทักษะการโค้ช ส่งเสริมลูกได้อย่างไร

พ่อแม่เป็นโค้ช

พ่อแม่ที่มีทักษะการโค้ช ส่งเสริมลูกได้อย่างไร

เดี๋ยวนี้ลูกโตแล้ว เขาไม่ฟังเราหรอก! พ่อแม่หวังดีนะ แต่ลูกไม่เข้าใจหรอก!

คำพูดคุ้นหูเหล่านี้จะคลี่คลายลงหากพ่อแม่มีทักษะการโค้ช


พ่อแม่หลายคนสื่อสารกับลูกอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ได้ระมัดระวังการใช้คำพูดเหมือนเวลาที่พูดคุยกับคนอื่น บางทีก็คุ้นชินว่าเราเป็นพ่อแม่ก็เลยพูดได้อย่างจริงใจ และลืมฟังว่าเขาพูดอะไรกับเราบ้าง

บนโต๊ะทำการบ้านลูกวัยมัธยมต้น คุณพ่อสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้ลูกและเตรียมที่จะติวให้เก่งพร้อมสอบเข้ามัธยมปลายสายวิทย์ พบว่าสอนบทไหนก็ทำได้ แต่พอให้ทำโจทย์ย้อนไปบทก่อนหน้านี้กลับทำไม่ได้แล้ว ค่ำนั้นคุณพ่อใช้เวลา Reflect สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น เขาพบว่าลูกมีความตั้งใจและพยามเต็มที่ ไม่เคยอิดออดเลยที่จะมานั่งเรียนกับพ่อทุกค่ำไม่เว้นวันหยุด เป็นไปได้ว่าลูกไม่ได้มีความถนัดทางคณิตศาสตร์ไม่เหมือนตัวเองที่เรียนแล้วเข้าใจและจำได้แม้ผ่านมาแล้วเกือบ 30 ปี ทุกวันนี้ถึงแม้เป็นวิศวกรที่ยังต้องใช้การความรู้ในการคำนวณเพื่อการตัดสินใจต่างๆในที่ทำงาน แต่ก็มีสูตรและโปรแกรมคำนวณเป็นตัวช่วย เขาทำความเข้าใจตัวเลขและตีความจากค่าต่างๆที่ได้เท่านั้น

ขณะนี้ลูกกำลังใช้เวลาที่มีค่าในช่วงวัยรุ่นของเขาที่จะทำสิ่งที่ชอบหรือค้นหาสิ่งที่ถนัดมานั่งติววิชาที่ไม่มีความถนัดโดยธรรมชาติอย่างคร่ำเคร่ง และถ้าลูกสามารถเข้าเรียนสายวิทย์ได้ บรรยากาศบนโต๊ะทำการบ้านก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกอย่างน้อยก็ตลอดช่วงวัยมัธยมของลูก

วันต่อมา คุณพ่อชวนลูกมานั่งคุยกันในบรรยากาศสบายๆหลังทานอาหารค่ำ

“เมื่อคืนพ่อนั่ง Reflect ตัวเองเกี่ยวกับการติววิชาคณิตศาสตร์ของเรา พ่ออยากเล่าให้ลูกฟังว่าพ่อคิดอะไรได้บ้าง ลูกอยากฟังไหม”

ลูกพยักหน้า พ่อจึงแชร์ความคิดของพ่อให้ฟัง ลูกน้ำตาคลอพร้อมบอกขอบคุณที่คุณพ่อเล่าความคิดพ่อให้ฟัง เขาขอเวลาให้ตัวเองได้ค้นหาสิ่งที่ชอบ เพื่อที่จะเลือกแผนเรียนในระดับมัธยมที่เหมาะกับเขาและพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยในอีก 4 ปีข้างหน้า   

คุณพ่อใช้การสังเกตเหตุการณ์โดยไม่ตัดสิน ให้เวลาตัวเองได้ Reflect สะท้อนให้รอบด้าน คิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะสรุป คุณพ่อยัง Respect ลูกโดยถามก่อนว่าลูกอยากฟังสิ่งที่พ่อจะเล่าให้ฟังไหม เปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม แชร์ความคิดต่างๆได้อย่างตรงไปตรงมา เมื่อพ่อลูกอยู่บนความเข้าใจเดียวกันแล้วก็สามารถเป็น Partnership ร่วมกันสร้างอนาคตของลูกอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีใครเป็นคนกำหนดเพียงคนเดียว

ทักษะการโค้ช ประกอบด้วยทักษะย่อยที่สร้างจากพื้นฐานความคิดแบบโค้ช สามารถนำมาใช้ได้ในหลายบริบท และครั้งนี้คุณพ่อได้ใช้ทักษะของโค้ชร่วมสร้างอนาคตของลูกไปพร้อมๆกับตัวลูกเอง  

 
ดร.หนิง ดไนยา ตั้งอุทัยสุข


ติดตามได้ทาง Line OA คุณจะไม่พลาดบทความพัฒนาผู้นำจากเรา
https://lin.ee/CWQqKwT 


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้